วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

การลงและติดตั้ง Ofbiz12.04 Ubuntu


  • สามารถ download Ofbiz12.04 ได้ที่ http://ofbiz.apache.org/
  • นำ apache-ofbiz-12.04.zip ไปไว้ใน Home Folder
  • สร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อ "Project"
  • แตกไฟล์  apache-ofbiz-12.04.zip ออกมา แล้วเปลี่ยน folder ชื่อเป็น "ofbiz12.04"
  • เปิด Terminal ขึ้นมา จากนั้นพิมพ์คำสั่ง
---------------------------------------------------------------------
cd Project/ofbiz12.04
---------------------------------------------------------------------
./ant
---------------------------------------------------------------------
./ant run-install
---------------------------------------------------------------------
./startofbiz.sh
---------------------------------------------------------------------
 
  • รอจนกว่า ofbiz จะ start เสร็จ
  • ทดสอบการติดตั้งว่าสำเร็จหรือไม่ โดยเข้าไปที่ Web Browser พิมพ์ URL ว่า "http://localhost:8080/webtools/"

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

การลง Subversion และ Plug-in เสริมเพื่อใช้งาน Ofbiz12.04

  • เปิด Dash Home ขึ้นมา จากนั้นค้นหาคำว่า "synaptic package manager" จากนั้นกดเข้าไป
  • ถ้าหาก search ใน Dash Home แล้วไม่มี synaptic package manager ให้เปิด Terminal ขึ้นมา จากนั้นพิมพ์ 
 ---------------------------------------------------------------------------
 sudo apt-get install synaptic
 ---------------------------------------------------------------------------
        เพื่อทำการติดตั้ง รอจนกว่าจะเสร็จ
  •  เปิดเข้าไปใน synaptic package manager ในช่อง Quick filter พิมพ์
                                "subversion" , "ant" , "postgresql"
  • ทำการ download และติดตั้ง


วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

การติดตั้ง JDK 6 ใน Ubuntu12.04

เริ่มแรกให้ทำการ Download JDK 6 จาก ที่นี่
  • หลังจากที่ download JDK 6 เสร็จ ให้เปิด  Terminal ขึ้นมา 


  • เปลี่ยน permission การเข้าถึงไฟล์โดยใช้คำสั่ง  
------------------------------------------------------------ 
chmod +x jdk-6u32-linux-i586.bin          กด enter
------------------------------------------------------------

  • คลายไฟล์ bin โดยใช้คำสั่ง
------------------------------------------------------------ 
./jdk-6u32-linux-i586.bin                         กด enter
------------------------------------------------------------

  • ย้ายโฟร์เดอร์ที่คลายไฟล์เสร็จแล้วไปไว้ที่ jvm
------------------------------------------------------------ 
sudo mv jdk1.6.0_32 /usr/lib/jvm/           กด enter
------------------------------------------------------------

  • ทำการติดตั้งลงในระบบ

------------------------------------------------------------   
sudo update-alternatives --install /usr/bin/javac javac /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_32/bin/javac 1 
          
กด enter

sudo update-alternatives --install /usr/bin/java java /usr/lib/jvm/jdk1.6.0_32/bin/java 1 

กด enter 
------------------------------------------------------------

  • ทดสอบดูเวอร์ชั่น
------------------------------------------------------------ 
java -version           กด enter
------------------------------------------------------------

  • ใน terminal ผลที่ออกมาจะได้ 
java version "1.6.0_43"
Java(TM) SE Runtime Environment (build 1.6.0_43-b01)
Java HotSpot(TM) Server VM (build 20.14-b01, mixed mode)

  •  ถ้าผลใน terminal ออกมาไม่ใช่ " java version "1.6.0_43" " สามารถใช้คำสั่งเพื่อเลือกใช้ java ใน version ที่เราต้องการได้ โดยใช้คำสั่ง 
------------------------------------------------------------ 
sudo update-alternatives --config javac
กด enter + เลือก version
 sudo update-alternatives --config java
กด enter + เลือก version
------------------------------------------------------------





วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

การติดตั้ง Ubuntu 12.04 คู่กับ Windows 7

การติดตั้ง Ubuntu 12.04 คู่กับ Windows 7

วิธีการลงแบบที่จะกล่าวนี้ เป็นการลงคู่กันระหว่าง Windows 7 และ Ubuntu ใน Harddisk ตัวเดียวกัน ในส่วนที่แตกต่างคือจะแยกตัวจัดการการบูตของทั้งสอง OS ออกจากกันอยู่คนละพาร์ติดชัน จากนั้นก็ใช้โปรแกรมบนฝั่ง Windows 7 ควบคุมการบูต ข้อดีของวิธีนี้คือในกรณีที่ Windows หรือ Ubuntu ล่มจนต้องลงใหม่ จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลากู้ GRUB หรือ Loader ของ Windows และในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ Ubuntu ก็สามารถลบทิ้งไปได้เลยทันทีโดยไม่รบกวน Loader ของ Windows 7


สิ่งที่ต้องการ
  • Windows 7 (ที่ลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว)
  • ตัวติดตั้ง Ubuntu (จะแบบ CD/DVD/USB ได้หมด)
  • โปรแกรม EasyBCD (ฟรี) สำหรับจัดการการบูต
  • โปรแกรม Minitool Partition Wizard Home Edition หรือ EASEUS Partition Master Home Edition (ฟรี)  ก็ได้ สำหรับแบ่งพาร์ติชัน (ในกรณีที่ไม่ได้เตรียมพาร์ติชันไว้ล่วงหน้า

Step 1 : การจัดสรร Partition สำหรับลง Ubuntu
ในกรณีที่ผู้ใช้ใหม่นึกอยากจะลง Ubuntu อาจไม่ได้เตรียมพาร์ติชันสำหรับลงไว้ เราจึงจำเป็นต้องมาแบ่งกันก่อน แต่ในตอนเริ่มแรกเรามีเฉพาะตัว Windows 7 ดังนั้น เราก็จัดการเรื่องพาร์ติชั่นบน Windows ไปเลย ซึ่งค่อนข้างง่ายกว่าการจัดการพาร์ติชั่นบน Ubuntu

**** หมายเหตุ การกระทำใดๆ เกี่ยวกับระบบพาร์ติชันมีความเสี่่ยง ผู้ใช้ควรสำรองข้อมูลที่สำคัญก่อนกระทำการ

อันดับแรก ให้ติดตั้งโปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งระหว่าง Minitool Partition Wizard Home Edition หรือ EASEUS Partition Master Home Edition (ในที่นี้ผมใช้ Minitool) จากนั้นก็เปิดโปรแกรมขึ้นมา ตามภาพ


จากภาพ เครื่องที่ผมใช้มีอยู่ 2 พาร์ติชั่น คือ C:SYSTEMS ซึ่งเป็นตัวเก็บ Windows 7 และ D:DATA เป็นตัวเก็บข้อมูลปกติ เนื่องจากเราต้องการเนื้อที่อย่างน้อย 20GB (น้อยกว่านี้ได้ขึ้นอยู่กับขนาด HDD ของเรา) เพื่อติดตั้ง Ubuntu เราต้องเลือกว่าจะย่อหรือดึงเนื้อที่มาจากพาร์ติชั่นไหน ในที่นี้ผมขอดึงมาจาก D: เพราะมันมีขนาดใหญ่ และเพื่อให้การจัดลำดับการบูตให้ได้ง่ายๆ เราจะดึงเนื้อที่มาจากส่วนหน้าของ D: 20GB สำหรับวิธีการขอพื้นที่พาร์ติชันคืน (resize) ทำดังนี้ครับ อันดับแรก คลิกที่ D: แล้วคลิกที่ปุ่ม Move/Resize จะปรากฏหน้าต่างตามภาพ


ให้เราคลิกค้างไว้ที่เครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านหน้าแล้วค่อยๆ ลากมาทั้งขวามือจนได้ขนาดตามที่ต้องการ (หน่วยเป็น MB เช่น ต้องการ 20GB ก็ราว 20,000 MB) ตามภาพ


ได้ขนาดทีต้องการแล้วกดปุ่ม OK แล้วกดปุ่ม Apply ที่ด้านบนอีกครั้ง แล้วจะพบข้อความเตือนว่า ผู้ใช้ควรปิดการตั้งค่าการประหยัดพลังงานและควรปิดโปรแกรมที่ไม่เกี่ยวข้องออกก่อน เพราะการแบ่งพาร์ติชันจะใช้เวลานาน และอาจต้องย้ายข้อมูลบางส่วน ให้เรากดปุ่ม Yes เพื่อทำต่อ



แบ่งเสร็จ เราก็จะได้พาร์ติชันแบบ Unallocated มาหนึ่งพาร์ติชัน หยุดแค่นี้ก่อน ต่อไปก็เตรียมตัวลง Ubuntu




Step 2 : Install Ubuntu

ในขั้นนี้เราต้องเตรียมแผ่น หรือ USB สำหรับลง Ubuntu ให้เราทำการบูตและเข้าสู่กระบวนการติดตั้งตามปกติจนกระทั่งมาถึงหน้า Allocate drive space เพื่อเลือกว่าเราจะติดตั้งแบบไหน ให้เลือก Something else


 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการจัดพาร์ติชั่น ให้เราคลิกเลือกที่ free space (ที่เราแบ่งบน Windows มาก่อนหน้านี้) จากนั้นคลิกปุ่ม Add

ให้ตั้งค่าตามภาพ
Type for the new partition = Primary
New partition size in megabytes (1000000 bytes) = ขึ้นมาเอง ไม่ต้องเปลี่ยน
Location for the new partition = Beginning
Use as = Ext4 journaling flie system
Mount point = /
กดปุ่ม OK เพื่อดำเนินการต่อ



ระบบจะเตือนว่าเรายังไม่ได้สร้างพาร์ติชันสำหรับ swap และอาจทำให้มีปัญหาระหว่างการติดตั้ง แต่ในที่นี้เรากด Continue ไปได้เลย เพราะทุกวันนี้เรามี RAM เยอะกันอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ swap ก็ได้

กลับมาที่หน้า Allocate drive space อีกที จะเห็นว่ามีพาร์ติดชั่นชื่อ /dev/sda3 ขึ้นมาแทนคำว่า free space จุดนี้สำคัญ ให้เราจำค่า device ค่านี้ จากนั้นก็ไปเลือก /dev/sda3 ที่เมนู Device for boot loader installation: ด้านล่าง ตรงนี้ต้องเลือกให้ถูกต้อง





Step 3 : Install EasyBCD

หลังจากที่ลงอูบุนตูเสร็จแล้วรีสตาร์ท มันจะเข้า Windows 7 แทน ก็ไม่ต้องตกใจ มันถูกต้องแล้ว ให้เราเริ่มติดตั้งโปรแกรม EasyBCD แล้วตั้งค่าตั้งภาพ

ปิดโปรแกรม แล้วทดสอบรีสตาร์ทดู จะเห็นตัวเลือกให้เลือกบูตระหว่าง Windows 7 และ Ubuntu


****----ถ้า----****
  • ถ้า Windows ล่ม ต้องลงใหม่ ก็ลงตามปกติ ลงเสร็จก็ลง EasyBCD และตั้งค่าตามเดิม
  • ถ้า Ubuntu ล่ม ก็ลงตามวิธีด้านบน ไม่ต้องแก้ไขค่าอะไรที่ Windows
  • ถ้าล่มทั้งคู่ ลง Windows ก่อน
  • ถ้าจะลบ Ubuntu ทิ้ง ก็ใช้ Minitool ลบพาร์ติชันที่ลง Ubuntu ทิ้ง แล้วลบโปรแกรม EasyBCD ออก